HIGHWAY @NLINE V3.1 
ทางหลวง ตามพระราชบัญญัติทางหลวง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549 หมายความว่า ทางหรือถนนซึ่งจัดไว้เพื่อประโยชน์ในการจราจรสาธารณะทางบก ไม่ว่าในระดับพื้นดิน ใต้หรือเหนือพื้นดิน หรือใต้หรือเหนืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น นอกจากทางรถไฟและหมายความรวมถึงที่ดิน พืช พันธุ์ไม้ทุกชนิด สะพาน ท่อหรือรางระบายน้ำ อุโมงค์ ร่องน้ำ กำแพงกันดิน เขื่อน รั้ว หลักสำรวจ หลักเขต หลักระยะ ป้ายจราจร เครื่องหมายจราจร เครื่องหมายสัญญาณ เครื่องสัญญาณไฟ เครื่องแสดงสัญญาณที่จอดรถ ที่พักคนโดยสาร ที่พักริมทาง เรือหรือพาหนะสำหรับขนส่งข้ามฟาก ท่าเรือสำหรับขึ้นหรือลงรถ และอาคารหรือสิ่งอื่นอันเป็นอุปกรณ์งานทางบรรดาที่มีอยู่หรือที่ได้จัดไว้ในเขตทางหลวงเพื่อประโยชน์แก่งานทางหรือผู้ใช้ทางหลวงนั้นด้วย
  หน้าหลัก
  ผู้สอน รศ.นิรชร นกแก้ว
  เนื้อหารายวิชา
  ตัวอย่างประกอบ
  แบบฝึกหัด
      หน่วยที่ 1
      หน่วยที่ 2
      หน่วยที่ 3
      หน่วยที่ 4
      หน่วยที่ 5
      หน่วยที่ 6
      หน่วยที่ 7
      หน่วยที่ 8
      หน่วยที่ 9
  ตำราด้านวิศวกรรมโยธา
 หน่วยที่ 3 การออกแบบและดำเนินการทางเรขาคณิต [60 ข้อ]
1. ในการสำรวจเส้นทางจะต้องทำการสำรวจในขั้นตอนใดก่อน
1. Location Survey
2. Preliminary Survey
3. Reconnaissance Survey
4. Route Survey

2. ในย่านความเร็วที่อยู่ติดกันแต่ความเร็วของย่านแตกต่างกันอันเนื่องจากลักษณะภูมิประเทศ ไม่ควรให้ความเร็วแตกต่างกันมากกว่ากี่กม./ชม.
1. 15 กม./ชม.
2. 20 กม./ชม.
3. 25 กม./ชม.
4. 30 กม./ชม.

3. แบบ Plan และ Profile จะใช้มาตราส่วนในแนวราบเท่ากับข้อใด
1. 1 : 100
2. 1 : 200
3. 1 : 500
4. 1 : 1000

4. หลักการเลือกความเร็วที่ใช้ในการออกแบบ (Design Speed) ของการออกแบบทางเรขาคณิตของทางหลวง ข้อใดเลือกใช้ความเร็วที่ใช้ในการออกแบบไม่เหมาะสม
1. เลือกใช้ความเร็วที่ใช้ในการออกแบบตามลักษณะการใช้งานของทาง
2. เลือกใช้ความเร็วที่ใช้ในการออกแบบให้สอดคล้องกับความคาดหวังของผู้ขับขี่
3. เลือกใช้ความเร็วที่ใช้ในการออกแบบใหเหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศ
4. เลือกใช้ความเร็วที่ใช้ในการออกแบบสูงสุดที่สามารถวิ่งได้ ณ จุดนั้น ๆ

5. ระยะทางเบื้องหน้าที่ขับยานพาหนะสามารถมองเห็นได้ไกลสุด เพื่อการตัดสินใจกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งเรียกว่าอะไร
1. Braking Distance
2. Perception and Reaction Distance
3. Stopping Distance
4. Sight Distance

6. ในการออกแบบทางหลวงสายใด ๆ ก็ตามจะต้องจัดให้มีระยะมองเห็นอย่างน้อยเท่ากับระยะใด
1. ระยะแซงปลอดภัย
2. ระยะหยุดรถโดยปลอดภัย
3. ระยะมองเห็นโดยปลอดภัยบนโค้งราบ
4. ระยะมองเห็นโดยปลอดภัยบนโค้งดิ่ง

7. จงหาระยะหยุดรถโดยปลอดภัยบนทางราบ เมื่อรถยนต์แล่นด้วยความเร็ว 50 กม./ชม. ค่า Perception-Reaction Time เท่ากับ 2.5 วินาที สมมติค่าสัมประสิทธิ์ระหว่างถนนกับล้อยางเท่ากับ 0.6
1. 25 ม.
2. 50 ม.
3. 75 ม.
4. 100 ม.

8. จงคำนวณหาระยะหยุดรถโดยปลอดภัยของทางหลวง 2 ช่องจราจร ความเร็วของรถ 60 กม./ชม. สัมประสิทธิ์ความเสียดทานระหว่างล้อกับถนนเท่ากับ 0.4 และผู้ขับเริ่มเหยียบห้ามล้อหลังจากเห็นวัตถุขวางหน้าอยู่เท่ากับ 3 วินาที
1. 85.34 ม.
2. 92.39 ม.
3. 95.50 ม.
4. 99.05 ม.

9. จงหาระยะหยุดรถโดยปลอดภัย เมื่อรถยนต์แล่นบนพื้นราบด้วยความเร็ว 70 กม./ชม. คนขับใช้เวลาในการรับรู้และปฏิบัติตอบสนอง 2.5 วินาที และค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานระหว่างล้อกับถนนเท่ากับ 0.4
1. 97 ม.
2. 108 ม.
3. 120 ม.
4. 133 ม.

10. จงหาระยะเบรกสำหรับรถที่วิ่งด้วยความเร็ว 75 กม./ชม. เมื่อขับลงเขาที่มีความลาดชัน 5% ค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานระหว่างล้อกับถนนเท่ากับ 0.35
1. 55.30 ม.
2. 73.74 ม.
3. 81.20 ม.
4. 90.15 ม.

11. จงหาระยะทางของรถที่กำลังเคลื่อนที่ ก่อนที่ผู้ขับยานพาหนะจะเหยียบห้ามล้อเพื่อหยุดรถ เมื่อความเร็วของรถ 60 กม./ชม. ระยะเวลาการตัดสินใจเท่ากับ 1.5 วินาที
1. 13.89 ม.
2. 16.67 ม.
3. 18.50 ม.
4. 25.00 ม.

12. รถยนต์วิ่งด้วยความเร็ว 70 กม./ชม. ทำการห้ามล้อเต็มที่ วัดระยะทางตามรอยลื่นไถลบนนถนน 21 ม. จงหาสัมประสิทธิ์ความเสียดทานที่เกิดขึ้นระหว่างล้อกับถนน เมื่อวิ่งบนทางราบ
1. 0.30
2. 0.46
3. 0.60
4. 0.91

13. จากรูปเป็นโค้งตามข้อใด

1. Broken Back Curve
2. Compound Curve
3. Sag Vertical Curve
4. Reverse Curve

14. ถ้าหากจำเป็นต้องใช้ลาดชันยาวเกินกว่าระยะการไต่ลาดชันวิกฤตและปริมาณรถมาก จำเป็นต้องเพิ่มช่องทางวิ่งสำหรับรถบรรทุกที่วิ่งช้า ช่องทางวิ่งที่เพิ่มขึ้นเรียกว่าข้อใด
1. Storage Lane
2. Speed-Change Lane
3. Express Lane
4. Climbing Lane

15. องค์ประกอบของถนนในข้อใด ที่ช่วยในการลดแรงเหวี่ยงต่อผู้โดยสารขณะที่รถวิ่งอยู่ในโค้งราบ
1. Simple Curve
2. Superelevation
3. Transition Length
4. Vertical Alignment

16. รถยนต์คันหนึ่งมีน้ำหนัก W แล่นด้วยความเร็ว V ภายใต้แรงโน้มถ่วง g อยู่ในช่วงทางโค้งราบที่มีรัศมี R และมีค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทาน f มุมระหว่างพื้นในแนวเอียงและแนวราบมีค่าเท่ากับ α จะต้องมีค่าอัตราการยกโค้ง e เท่าใด จึงจะสามารถต้านแรงหนีศูนย์กลางได้
1.
2.
3.
4.

17. จงหารัศมีของโค้งสั้นที่สุดเมื่อขับรถได้โดยปลอดภัย

เมื่อ
1. 375 ม.
2. 395 ม.
3. 425 ม.
4. 450 ม.

18. ถ้าความเร็วในการออกแบบโค้ง 90 กม./ชม. โดยใช้รัศมีโค้งวงกลม 500 ม. กำหนดค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานด้านข้างไม่เกิน 0.06 อัตราการยกโค้งจะเท่ากับเท่าไร เมื่อ
1. 0.057
2. 0.070
3. 0.077
4. 0.100

19. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของการยกโค้ง เมื่อเส้นทางเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงแนวในทางราบและมีความจำเป็นในการยกโค้ง
1. หมุนรอบหมุดอ้างอิง
2. หมุนรอบศูนย์กลางทาง
3. หมุนรอบขอบผิวทางด้านใน
4. หมุนรอบขอบผิวทางด้านนอก

20. จงคำนวณหาอัตราการยกโค้งสูงสุด (Superelevation) ของโค้งที่มีรัศมีเท่ากับ 576 ม. ความเร็วรถยนต์วิ่งเข้าโค้งเท่ากับ 120 กม./ชม.
1. 0.06
2. 0.08
3. 0.09
4. 0.10

21. จงหาค่าอัตราการยกโค้งของถนนที่มีความโค้ง 800 ม. ความเร็วที่ใช้ในการออกแบบ 80 กม./ชม. ค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานระหว่างล้อกับถนน 0.05
1. 0.014
2. 0.075
3. 0.080
4. 0.150

22. ถ้ารัศมีทางโค้งของถนนเท่ากับ 350 ม. ต้องการให้รถแล่นเข้าโค้งได้อย่างปลอดภัยด้วยความเร็ว 100 กม./ชม. จะต้องกำหนดอัตราการยกโค้งเท่าใด เมื่อค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานระหว่างล้อกับถนนเท่ากับ 0.15
1. 4%
2. 7.9%
3. 12%
4. 23%

23. จากข้อมูลการยกโค้งโดยการหมุนรอบจุดศูนย์กลางของโค้งวงกลมของทางหลวง 2 ช่องจราจร ความกว้าง 8.00 ม. Crown Slope 2% อัตราการยกโค้ง 0.09 ม./ม. อัตราความลาดตามยาว (S) เท่ากับ 150 จงหาค่า Superelevation Transition Length (TS) ของการการยกโค้งนี้
1. 66.00 ม.
2. 78.00 ม.
3. 102.00 ม.
4. 128.00 ม.

24. มุม Degree of Curve มีค่าเท่ากับ 1° ค่ารัศมีความโค้งจะมีค่าเท่าใด
1. 5249.578
2. 5729.578
3. 5827.587
4. 5927.578

25. จงคำนวณหาความยาวโค้งจาก PC.STA. ถึง PT.STA. เมื่อ Δ = 20°, D = 10°
1. 160 ม.
2. 180 ม.
3. 200 ม.
4. 220 ม.

26. โค้งวงกลมของถนนสายหนึ่งมี R = 600 m, T = 120 m, PI.STA.103+840 จงหา PT.STA.
เมื่อ และ
1. PT.STA. 103+456.660
2. PT.STA. 103+956.875
3. PT.STA. 104+011.116
4. PT.STA. 104+070.026

27. ทางหลวง 2 ช่องจราจร ความกว้างถนน 6.00 ม. อัตราการยกโค้ง 0.10 ม./ม. ที่ N.C. STA. 10+000 ELEV. ที่จุดศูนย์กลางถนน = 100.000 m ELEV. ที่ขอบถนน = 99.940 m และ H.C. อยู่ที่ STA. 10+024 จงหาว่า STA. 10+050 ขอบนอกของถนนจะอยู่สูงกว่าจุดศูนย์กลางเท่าใด
1. 0.130 m
2. 0.173 m
3. 0.260 m
4. 0.346 m

28. จากรูปข้อใดไม่ถูกต้อง
1.
2.
3.
4.

29. ผลต่างพีชคณิตของโค้งนี้คือข้อใด

1. –0.5%
2. +0.5%
3. –3.5%
4. +3.5%

30. ความลาดชัน G1 เท่ากับกี่เปอร์เซ็นต์

1. -2.5%
2. +2.5%
3. -3.5%
4. +3.5%

31. ความลาดชัน G2 เท่ากับกี่เปอร์เซ็นต์

1. -3.5%
2. -4.0%
3. -4.5%
4. -5.0%

32. จงหาค่าระดับบนเส้นโค้งดิ่งสมมาตร ที่ STA. 3+050 มีข้อมูลดังนี้
PVC. STA. 3+000, ELEV. = 100.000 m
g1 = +3%
PVI. STA. 3+100 g2 = -2%
1. 100.500 m
2. 101.188 m
3. 101.250 m
4. 101.500 m

33. จงคำนวณหาค่าระดับของโค้งดิ่งสมมาตรที่ STA.1+475 เมื่อ PVI.STA.1+500, ELEV. = 100 m, G1 = +6%, G2 = +3%, ความยาวโค้งดิ่ง (vc.) = 100 m
1. 98.206 m
2. 98.546 m
3. 98.406 m
4. 98.726 m

34. จงหาค่าระดับของโค้งทางดิ่งไม่สมมาตรที่ PVISTA. 5+500, ELEV. = 100 m, G1 = -5%, G2 = +4%, l1 = 120 m, l2 = 80 m
1. 102.160 m
2. 102.500 m
3. 104.320 m
4. 105.000 m

35. ข้อมูลโค้งดิ่ง PVI. STA. 63+250, ELEV. = 72.000 m, G1 = -4%, G2 = +5%, l1 = 100 m, l2 = 50 m จงหาค่าจุดต่ำที่สุดบนเส้นโค้งดิ่งพาราโบลาอยู่ระยะที่เท่าไร
1. X = 20.834 m จาก PVT. STA.
2. X = 33.333 m จาก PVT. STA.
3. X = 41.667 m จาก PVT. STA.
4. X = 50.000 m จาก PVT. STA.

36. โค้งดิ่งคว่ำแบบสมมาตร มีความลาดชันขึ้น 3% และลง 2% ที่ PVI.STA. 10+250, ELEV. = 135.450 m, vc. = 300 m จงหา STA. และ ELEV. ของ PVC.STA. และ PVT.STA.
1. PVC.STA. 10+100, ELEV. = 130.950 m
         PVT.STA. 10+400, ELEV. = 132.450 m
2. PVC.STA. 10+100, ELEV. = 132.550 m
         PVT.STA. 10+410, ELEV. = 138.450 m
3. PVC.STA. 10+110, ELEV. = 132.550 m
         PVT.STA. 10+400, ELEV. = 132.450 m
4. PVC.STA.10+110, ELEV. = 132.550 m
         PVT.STA. 10+410, ELEV. = 138.450 m

37. ความยาวโค้งดิ่งที่สั้นที่สุดซึ่งคนขับรถสามารถมองเห็นได้ไกลเพียงพอที่จะหยุดรถได้ทันเท่ากับกี่เมตร

เมื่อ
กรณีโค้งคว่ำ
กรณี S < L
กรณี S > L
กรณีโค้งหงาย
กรณี S < L
กรณี S > L
1. 62 ม.
2. 76 ม.
3. 186 ม.
4. 248 ม.

38. ความยาวโค้งดิ่งที่สั้นที่สุดซึ่งคนขับรถสามารถมองเห็นได้ไกลเพียงพอที่จะหยุดรถได้ทันเท่ากับกี่เมตร

เมื่อ
กรณีโค้งคว่ำ
กรณี S < L
กรณี S > L
กรณีโค้งหงาย
กรณี S < L
กรณี S > L
1. 197 ม.
2. 214 ม.
3. 230 ม.
4. 340 ม.

39. ข้อใดควรให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกในการออกแบบโค้งหงาย
1. ความเร็วสูงสุดที่ใช้ในการออกแบบ
2. ระยะแซงโดยปลอดภัย
3. ระยะมองเห็นในเวลากลางวัน
4. ระยะไกลของไฟส่องหน้ายานพาหนะในเวลากลางคืน

40. ระยะจากกึ่งกลางถนนไปยังวัตถุที่บังแนวสายตาของโค้งราบมีระยะไม่น้อยกว่ากี่เมตร

เมื่อ
      
1. 8.0
2. 8.5
3. 9.0
4. 9.5

41. เพื่อความปลอดภัยควรแนะนำให้ผู้ขับขี่ขับยานพาหนะด้วยความเร็วภายในโค้งราบไม่เกินกี่กม./ชม.

เมื่อ
      
1. 50 กม./ชม.
2. 60 กม./ชม.
3. 70 กม./ชม.
4. 80 กม./ชม.

42. เพื่อที่จะให้รถจากทั้งทางเอกและทางโทหยุดได้ทัน ควรกำหนดให้รถในทางโทแล่นเข้าสู่ทางแยกด้วยความเร็วไม่เกินกี่กม./ชม.


เมื่อ
      
1. 30 กม./ชม.
2. 40 กม./ชม.
3. 50 กม./ชม.
4. 60 กม./ชม.

43. จากรูปตรงกับความหมายข้อใด

1. โค้งดิ่งและโค้งราบควรเป็นลักษณะตรงกัน จุด PI. และจุด PVI. ควรอยู่ใกล้กัน
2. ถนนที่แนวทางตรงยาว ๆ แต่ความยาวโค้งสั้น ๆ ควรหลีกเลี่ยงเป็นอย่างยิ่ง
3. ควรหลีกเลี่ยงโค้งผสมที่มีรัศมีหรือ Degree of Curve แตกต่างกันมาก ๆ และไม่ควรให้โค้งที่มีรัศมีสั้น ๆ ตามหลังโค้งที่มีรัศมียาวมาก ๆ
4. ควรหลีกเลี่ยงโค้งดิ่งบนทางที่มีลาดชันขึ้นมาก ๆ

44. ข้อใดเป็นการออกแบบที่ไม่ดี
1.
2.
3.
4.

45. ข้อใดเป็นการออกแบบที่ดี
1.
2.
3.
4.

46. จงคำนวณหามุม B และ Δ ซึ่งเป็นตำแหน่ง PI.STA. กรณี PI.STA. ตกเหว ไม่สามารถตั้งกล้องได้ กำหนดให้ มุม A = 30° STA.1+500 มุม C = 20° ระยะ AC = 50 ม.
1. PI.STA. 1+522.324 และ Δ = 50°
2. PI.STA. 1+532.635 และ Δ = 50°
3. PI.STA. 1+546.728 และ Δ = 50°
4. PI.STA. 1+554.286 และ Δ = 50°

47. จากรูปแนวทางนี้เป็นลักษณะโค้งราบที่ไม่ดี ทำการแก้ไขแนวทางใหม่ให้เหมาะสมขึ้น จงหาค่า PI.STA. ใหม

1. PI.STA. 0+500.571
2. PI.STA. 0+513.174
3. PI.STA. 0+513.486
4. PI.STA. 0+514.802

48. ในการออกแบบแนวทางราบ Horizontal Alignment) บนทางพิเศษ เมื่อแนวถนนมีการเปลี่ยนทิศทาง ชนิดของโค้งที่ควรนำมาออกแบบคือข้อใด
1. โค้งวงกลม
2. โค้งกลับทิศทาง
3. โค้ง Spiral และ โค้งวงกลม
4. โค้ง Parabola

49. วัตถุประสงค์ที่สำคัญที่สุดในการใส่ Transition Curve สำหรับทางหลวงคือข้อใด
1. ใช้ออกแบบแทนโค้งวงกลมได้
2. ช่วยลดแรงหนีศูนย์ขณะรถวิ่งเข้าโค้ง
3. ให้การปรับแนวการวิ่งเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป
4. ให้รถวิ่งได้เร็วขึ้น

50. ข้อใดเป็นทางแยกระดับพื้นฐานทั่วไป เมื่อปริมาณการจราจรมีไม่สูงมากและทางหลวงที่ตัดกันไม่เป็นทางที่มีมาตรฐานสูงมาก
1. Overcrossing
2. Undercrossing
3. Grade Separate Intersection
4. At Grade Intersection

51. บริเวณแยกรถ (Exit Area) ในกรณีที่การลดความเร็วเพื่อเข้าช่องเลี้ยวให้เป็นไปอย่างราบรื่นประกอบด้วยส่วนใดบ้าง
1. Taper + Storage → Deceleration Lane
2. Taper + Auxiliary → Acceleration Lane
3. Taper
4. Storage

52. Guard Rail หมายถึงอะไร
1. เกาะกลางถนน
2. ทางวิ่งของรถราง
3. รั้วและหลักบอกระยะ
4. ราวกันอันตราย

53. ข้อใดไม่ใช่ ข้อควรพิจารณาในการตัดสินใจเลือกก่อสร้างเป็นทางแยกต่างระดับ
1. ปัญหาการติดขัดตรงแยกที่มีรถตัดผ่านมาก
2. ปัญหาของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นสูงที่ทางแยกระดับเดียวกัน
3. ปัญหาของที่ดินมีราคาแพงหรือปัญหาการรื้อถอน
4. ปัญหาของปริมาณรถเลี้ยวขวาเบาบาง

54. ข้อใดเป็นทางแยกต่างระดับสำหรับสามแยกเป็นลักษณะ T-Type ออกแบบ Loop Ramp ให้อำนวยความสะดวกให้ตรงทิศทางกับปริมาณรถเลี้ยวขวามากที่สุด
1. Y-Type
2. Diamond
3. Trumpet Type
4. Cloverleaf

55. ข้อใดเป็นทางแยกต่างระดับสำหรับสี่แยกธรรมดาใช้พื้นที่น้อยและราคาถูกที่สุด นิยมใช้มากในเมืองสำหรับทางแยกที่มีปริมาณรถมากตัดกับทางที่มีปริมาณรถน้อย
1. Diamond
2. Trumpet Type
3. Cloverleaf
4. Directional

56. ทางหลวงสายหลักนอกเมืองสองสายตัดกัน แต่ละสายมีปริมาณการจราจรใกล้เคียงกัน รูปแบบของทางแยกต่างระดับที่เหมาะสำหรับทางแยกนี้ ควรเป็นรูปแบบใด
1. Diamond
2. Trumpet Type
3. Cloverleaf
4. Directional

57. จากความคล้ายกันของรูปแบบ จงบอกชื่อทางแยกโดยเรียงลำดับจากรูปให้ถูกต้อง

1. Cloverleaf with Collector Distributors, Directional, Diamond, Partial Cloverleaf
2. Diamond, Partial Cloverleaf, Cloverleaf with Collector Distributors, Directional
3. Directional, Diamond, Cloverleaf with Collector Distributors, Partial Cloverleaf
4. Partial Cloverleaf, Cloverleaf with Collector Distributors, Directional, Diamond

58. ข้อมูลของความเร็วของกระแสน้ำ นำไปพิจารณาด้านใด
1. พิจารณาความจำเป็นในการออกแบบ Retaining Wall
2. พิจารณาความจำเป็นในการออกแบบป้องกันน้ำเค็ม
3. พิจารณาความจำเป็นในการป้องกันน้ำกัดเซาะลาดสะพานและท้องน้ำ
4. พิจารณากำหนดชนิดและขนาดอาคารระบายน้ำ

59. การพิจารณาใดไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูลของขนาดและจำนวนแพ-ซุง
1. พิจารณากำหนดความยาวของช่วงสะพาน
2. พิจารณากำหนดช่องลอด
3. พิจารณาความจำเป็นในการเลือกใช้แบบตอม่อกันซุงหรือไม่
4. พิจารณาความจำเป็นในการป้องกันน้ำกัดเซาะลาดสะพานและท้องน้ำ

60. จงเลือกชนิดและขนาดของอาคารระบายน้ำที่เหมาะสม เมื่อ Q = 8.62 ลบ.ม./วินาที ความเร็วของน้ำ 2.0 ม./วินาที เมื่อระดับน้ำสูงสุด 1.10 ม.
1. 3-Ø 1.50 ม.
2. 4-Ø 1.20 ม.
3. 5-Ø 1.00 ม.
4. 9-Ø 0.80 ม.

 Assist. Prof. Nirachorn Nokkaew : Deptartment of Civil , Faculty of Engineering , Rajamangala University of Technology Thanyaburi 
 Please Contact E-mail Address : nirachorn@gmail.com , Website : www.nirachorn.com 
 Copyright © 1997-2017 by Nirachorn Nokkaew , All Rights Reserved. ® : Webmaster