HIGHWAY @NLINE V3.1 
ทางหลวง ตามพระราชบัญญัติทางหลวง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549 หมายความว่า ทางหรือถนนซึ่งจัดไว้เพื่อประโยชน์ในการจราจรสาธารณะทางบก ไม่ว่าในระดับพื้นดิน ใต้หรือเหนือพื้นดิน หรือใต้หรือเหนืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น นอกจากทางรถไฟและหมายความรวมถึงที่ดิน พืช พันธุ์ไม้ทุกชนิด สะพาน ท่อหรือรางระบายน้ำ อุโมงค์ ร่องน้ำ กำแพงกันดิน เขื่อน รั้ว หลักสำรวจ หลักเขต หลักระยะ ป้ายจราจร เครื่องหมายจราจร เครื่องหมายสัญญาณ เครื่องสัญญาณไฟ เครื่องแสดงสัญญาณที่จอดรถ ที่พักคนโดยสาร ที่พักริมทาง เรือหรือพาหนะสำหรับขนส่งข้ามฟาก ท่าเรือสำหรับขึ้นหรือลงรถ และอาคารหรือสิ่งอื่นอันเป็นอุปกรณ์งานทางบรรดาที่มีอยู่หรือที่ได้จัดไว้ในเขตทางหลวงเพื่อประโยชน์แก่งานทางหรือผู้ใช้ทางหลวงนั้นด้วย
  หน้าหลัก
  ผู้สอน รศ.นิรชร นกแก้ว
  เนื้อหารายวิชา
  ตัวอย่างประกอบ
  แบบฝึกหัด
  ตำราด้านวิศวกรรมโยธา
      วิศวกรรมการทาง
      การทดสอบวัสดุการทาง


  
  ตัวอย่างหนังสือ


วิศวกรรมการทาง
พิมพ์ครั้งที่ 1
ปี พ.ศ. 2553
ชนิดของปก ปกอ่อน
เนื้อในพิมพ์ ขาว-ดำ
ขนาดรูปเล่ม 210x297 มิลลิเมตร
ความหนา 36 มิลลิเมตร
น้ำหนัก 1,500 กรัม
จำนวน 622 หน้า
ราคา 320 บาท [ค่าจัดส่ง 50 บาท/เล่ม]
หลักสูตรครอบคลุมเนื้อหาสภาวิศวกร
เหมาะสำหรับ นิสิต นักศึกษา ระดับปริญญาตรี วิศวกร และผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับงานทาง


หนังสือวิศวกรรมการทางเล่มนี้ ผู้เขียนได้ศึกษาค้นคว้าและเรียบเรียงความรู้จากประสบการณ์ในการสอนและการทำงานด้านการทาง เพื่อใช้เป็นหนังสือประกอบการเรียนการสอนวิชา “วิศวกรรมการทาง” โดยเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ประกอบด้วยหน่วยเรียน 9 หน่วย คือ ประวัติความเป็นมาของทางหลวงและการจัดระบบงานทางหลวง หลักการเบื้องต้นของการวางแผนสร้างทางและการวิเคราะห์จราจร การออกแบบและดำเนินการทางเรขาคณิต การควบคุมการจราจร การออกแบบทาง เศรษฐศาสตร์การทาง วัสดุการทาง การก่อสร้างทางและการบำรุงรักษาทาง

สารบัญ

หน่วยที่ 1 ประวัติความเป็นมาของทางหลวงและการจัดระบบงานทางหลวง
1.1 ประวัติทางหลวง
1.2 ประเภททางหลวง
1.3 การจัดระบบงานทางหลวง

หน่วยที่ 2 หลักการเบื้องต้นของการวางแผนสร้างทางและการวิเคราะห์จราจร
2.1 การวางแผนสร้างทาง
2.2 การวิเคราะห์จราจร

หน่วยที่ 3 การออกแบบและดำเนินการทางเรขาคณิต
3.1 หลักการและข้อกำหนดพื้นฐานในการออกแบบทาง
3.2 การพิจารณาการกำหนดแนวทางและการออกแบบแนวทางราบ
3.3 การออกแบบแนวทางดิ่ง
3.4 การออกแบบทางแยก
3.5 การออกแบบอาคารระบายน้ำ

หน่วยที่ 4 การควบคุมการจราจร
4.1 ป้ายจราจร
4.2 เครื่องหมายจราจร
4.3 สัญญาณไฟจราจร

หน่วยที่ 5 การออกแบบทาง
5.1 โครงสร้างทางและหน่วยแรง
5.2 การออกแบบทางยืดหยุ่นและผิวแข็ง

หน่วยที่ 6 เศรษฐศาสตร์การทาง
6.1 งบลงทุนและเศรษฐศาสตร์ทางหลวง
6.2 แนวความคิดเรื่องค่าของเงินในทางเศรษฐศาสตร์
6.3 วิธีการวิเคราะห์ความเหมาะสมทางเศรษฐศาสตร์ของโครงการ

หน่วยที่ 7 วัสดุการทาง
7.1 วัสดุมวลรวม
7.2 แอสฟัลต์

หน่วยที่ 8 การก่อสร้างทาง
8.1 การก่อสร้างงานชั้นทาง
8.2 การก่อสร้างงานถนน

หน่วยที่ 9 การบำรุงรักษาทาง
9.1 การชำรุดของทาง
9.2 การซ่อมบำรุงทาง

 Assist. Prof. Nirachorn Nokkaew : Deptartment of Civil , Faculty of Engineering , Rajamangala University of Technology Thanyaburi 
 Please Contact E-mail Address : nirachorn@gmail.com , Website : www.nirachorn.com 
 Copyright © 1997-2017 by Nirachorn Nokkaew , All Rights Reserved. ® : Webmaster